วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559

แบบทดสอบปลายเปิดบทที่ 10 (2)

คำสั่ง จงอธิบายคำถามแต่ละข้อต่อไปนี้ให้สมบูรณ์

1. คุกกี้แอ็ดเน็ทเวิร์ค คืออะไร
คุกกี้แอ็ดเน็ตเวิร์ก (Ad network cookies)
- โปรแกรมสายลับ หรือสปายแวร์ (Spyware) จะตรวจดูกิจกรรมที่ทำบนอินเทอร์เน็ตทั้งหมด

2. อาญชญากรรมหมายถึงอะไร
1. ทำลายคอมพิวเตอร์ โปรแกรม หรือไฟล์
- ไวรัส หรือเวิร์ม
- Denial of Service attack
2. ขโมย
- ฮาร์ดแวร์ ข้อมูล เวลา
- การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
3. การเปลี่ยนแปลง

3. คุกกี้คัตเตอร์ คืออะไร
คุกกี้สามารถดู
- หน้าและจำนวนครั้งที่เราเข้าเยี่ยมชม
- ข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ

4. ไฟร์วอลล์ หมายถึงอะไร
ตอบคือซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ในระบบเครือข่าย ซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ในระบบเครือข่าย หน้าที่ของไฟร์วอลล์คือเป็นตัวกรองข้อมูลสื่อสาร โดยการกำหนดกฎและระเบียบมาบังคับใช้โดยเฉพาะเรื่องของการดูแลระบบเครือข่าย โดยความผิดพลาดของการปรับแต่งอาจส่งผลทำให้ไฟล์วอลล์มีช่องโหว่ และนำไปสู่สาเหตุของการโจรกรรมข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้

5. สนุ้ปแวร์ หมายถึงอะไร
สำหรับตรวจสอบการทำงานของพนักงานบริษัท เช่น การแอบดูอีเมลหรือแฟ้มข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน

6. เวิร์ม หมายถึงอะไร
ตอบเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกับโปรแกรมไวรัส แต่แพร่กระจายผ่านเครือข่ายไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครื่องอื่น ๆ ที่ต่ออยู่บนเครือข่ายด้วยกัน ลักษณะการแพร่กระจายคล้ายตัวหนอนที่เจาะไชไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ แพร่พันธุ์ด้วยการคัดลอกตัวเองออกเป็นหลาย ๆ โปรแกรม และส่งต่อผ่านเครือข่ายออกไป และสามารถแพร่กระจายผ่านทางอีเมล์ได้ ไม่ว่าจะเป็นOutlook Express หรือ Microsoft Outlook เช่น เมื่อมีผู้ส่งอีเมล์และแนบโปรแกรมติดมาด้วย ในส่วนของ Attach file ผู้ใช้สามารถคลิ๊กดูได้ทันที การคลิ๊กเท่ากับเป็นการเรียกโปรแกรมที่ส่งมาให้ทำงาน ถ้าสิ่งที่คลิ๊กเป็นเวิร์ม เวิร์มก็จะแอกทีฟ และเริ่มทำงานทันที โดยจะคัดลอกตัวเองและส่งจดหมายเป็นอีเมล์ไปให้ผู้อื่นอีก

7. แฮกเกอร์ หมายถึงอะไร
บุคคลผู้ที่เป็นอัจริยะ มีความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี สามารถเข้าไปถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์ โดยเจาะผ่านระบบรักษาความปลอดภัย ของคอมพิวเตอร์ได้ กลุ่มพวกนี้จะอ้างว่า ตนมีจรรยาบรรณ ไม่หาผลประโยชน์จากการบุกรุกและประณามพวก Cracker"

8. แครกเกอร์ หมายถึงอะไร
การก่ออาชญากรรมทางโลกไซเบอร์ มีลักษณะคล้ายกกับแฮกเกอร์แต่แตกต่างกันตรงความคิดและเจตณา แฮกเกอร์ คือผู้ที่นำความรู้ในการแฮกไปใช้ในทางที่มีประโยชน์ ส่วนแครกเกอร์ คือผู้ที่นำความรู้ในการแฮกไปใช้ในการทำความผิด เช่น การขโมยข้อมูล การทำลายข้อมูล หรือแม้กระทั่งการครอบครองคอมพิวเตอร์คนอื่น

9.โปรแกรมตรวจสอบไวรัส มีโปรแกรมอะไรบ้าง ตอบมาอย่างน้อย 5 โปรแกรม
1. Kaspersky Free Antivirus
2. Avast Free Full Antivirus
3. Norton AntiVirus 2012
4. Microsoft Security Essentials
5. AVG Free Anti-Virus

10. การโจมตีเพื่อทำให้ปฏิเสธการบริการ หมายถึงอะไร
แสดงน้อยลงเป็นความพยายามทำให้เครื่องหรือทรัพยากรเครือข่ายสำหรับผู้ใช้เป้าหมายใช้บริการไม่ได้ เช่น ขัดขวางหรือชะลอบริการของแม่ข่ายที่เชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ตอย่างชั่วคราวหรือถาวร
เขียนโดย เพ็ญนภา มีคำ ที่ 21:50 1 ความคิดเห็น:
ส่งอีเมลข้อมูลนี้
BlogThis!
แชร์ไปที่ Twitter
แชร์ไปที่ Facebook
แชร์ใน Pinterest

แบบทดสอบปลายเปิดบทที่10 (1)
แบบทดสอบปลายเปิดบทที่10 (1)
คำสั่ง จงอธิบายคำถามแต่ละข้อต่อไปนี้ให้สมบูรณ์

1. อภิปรายความสัมพันธ์ระหว่างฐานข้อมูล และภาวะส่วนตัว

ภาวะส่วนตัว เกี่ยวข้องกับการเก็บรักษาและการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
• การใช้งานที่ควรตระหนัก ได้แก่
– ฐานข้อมูลขนาดใหญ่
– สิทธิส่วนบุคคล
– อินเทอร์เน็ต และเว็บ

• ภาวะส่วนตัวเป็นประเด็นหลักของจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์
• สำหรับประเทศไทยอยู่ในระหว่างการดำเนินการออกกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ร่างกฎหมายโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ - เนคเทค)

ฐานข้อมูลขนาดใหญ่
• บางหน่วยงานของรัฐบาลและเอกชนจะมีฐานข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนตัวของแต่ละบุคคลไว้
• ผู้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่
– หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือรับผิดชอบ
– ผู้ขายข้อมูล (information re-seller หรือ information broker)
• การกระทำที่ไม่ถูกต้อง
– การแพร่กระจายข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ
• โจรสวมรอย (identity theft)
– การแพร่กระจายข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
• คุณลักษณะที่ผิดพลาด (mistaken identity)
สิทธิส่วนบุคคล
• การแอบดูการทำงานของลูกจ้าง การแอบดูไฟล์หรืออีเมล์
– ใช้โปรแกรมสนู้ปแวร์ (snoop ware)
• การตรวจสอบเนื้อหาโดยผู้ให้บริการ
– กลั่นกรองและปฏิเสธข้อมูล
– ยกเลิกรหัสผู้ใช้
อินเทอร์เน็ตและเว็บ

• ความลวงของการไม่มีตัวตน (illusion of anonymity)
– การไม่ใช้ชื่อ-นามสกุลหรือข้อมูลส่วนตัวจริง
– ไม่สนใจในภาวะส่วนตัวเมื่อท่องอินเทอร์เน็ต หรือส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
• ไฟล์ประวัติ (history file)
• คุกกี้ (cookies)
– คุกกี้แบบดั้งเดิม (traditional cookies)
– คุกกี้แอ็ดเน็ตเวิร์ก หรือคุกกี้แอ็ดแวร์ (ad network cookies หรือ adware cookies)
• โปรแกรมสายลับ (spyware)

• โปรแกรมต่อต้านหรือกำจัดโปรแกรมสายลับ (anti-spyware program หรือ spy removal program)

2. อธิบายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆ

อาชญากรรม 6 ประเภทดังกล่าวได้แก่
1.การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)

2.การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม แบบเก่า โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์

3.การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)

4.การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ – ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว

5.ภาพอนาจารทางออนไลน์ – ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252A การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้แย้งอย่างกว้างขวาง

6.ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด

3. มาตรการการป้องกันความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ที่สำคัญมีอะไรบ้าง การเข้าถึงรหัสคืออะไร บริษัท หรือบุคคลจะใช้ได้อย่างไร

หลักการแนวคิด 5 ข้อที่เกี่ยวข้องกับมาตรการควบคุมที่สำคัญเพื่อการปกป้องระบบคอมพิวเตอร์
1. Offense informs defense: ถ้าหากเราทราบถึงวิธีหรือขั้นตอนในการกระทำผิดนั้นๆ และเราก็จะทราบทราบถึงวิธีการป้องกันการกระทำผิดเหล่านั้นด้วย
2. Prioritization: ให้ลำดับความสำคัญที่จะดำเนินการกับความเสี่ยงที่สำคัญๆ ก่อน หรือทำการป้องกันในจุดที่จะก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรง ตามลำดับก่อนหลัง
3. Metrics: นำเสนอข้อมูลตัวชี้วัดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น มูลค่าความเสียหายหากถูกโจมตีจากจุดอ่อนต่างๆ ความสำคัญของระบบ หรือข้อมูลในองค์กร และ ข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถประเมินได้ให้กับผู้บริหาร ฝ่ายไอที ผู้ตรวจสอบ และบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยเพื่อช่วยกันประเมินและปรับปรุงข้อมูลเหล่าตัวชี้วัดนั้นได้รวดเร็วขึ้น
4. Continuous monitoring: ดำเนินการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องเพื่อทดสอบและตรวจสอบประสิทธิผลของมาตรการรักษาความปลอดภัยในปัจจุบัน
5. Automation: ระบบอัตโนมัติสามารถเชื่อถือได้ และทำการขยายขีดความสามารถ รวมทั้งตรวจวัดได้อย่างต่อเนื่อง ตามข้อควรปฏิบัติในระเบียบวิธีการควบคุม และตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง

4. การยศาสตร์คืออะไร การใช้คอมพิวเตอร์มีผลต่อสุขภาพด้านจิตใจ และร่างกายอย่างไร มีขั้นตอนที่จะลดความเครียดจากเทคโนโลยีได้อย่างไร

ตอบการยศาสตร์ (Ergonomics)
การยศาสตร์หมายความว่า “ศาสตร์ในการจัดสภาพงานให้เหมาะกับคนทำงาน“หรือ “การศึกษาคนในสิ่งแวดล้อมการทำงาน“ นั่นเอง และอีกความหมายหนึ่ง การยศาสตร์ คือ การศึกษาสภาวะแวดล้อมของการทำงาน โดยใช้หลักคิดว่า "เราจะทำให้คนทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร" การจัดสภาพแวดล้อมอย่างไร ที่จะทำให้คนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจ่ายค่าแรงน้อยที่สุด ใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด เพื่อให้ผลผลิตออกมามากที่สุด หรือพูดอีกอย่างว่าทำให้งานนั้นมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ไปพร้อม ๆ กัน ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเมื่อก่อน และได้มีสหภาพแรงงานเกิดขึ้น สำหรับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization, ILO ) ได้ให้คำจำกัดความของการยศาสตร์ไว้ว่า “การประยุกต์ใช้วิชาการทางด้านชีววิทยาของมนุษย์ และวิศวกรรมศาสตร์ให้เข้ากับคนงานและสิ่งแวดล้อมในการทำงานของเขา เพื่อให้คนงานเกิดความพอใจในการทำงาน และได้ผลผลิตสูงสุด” ดังนั้น การยศาสตร์จึงเป็นวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการปรับงานให้เข้ากับความสามารถทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีผู้ให้ความหมายของ “ เออร์โกโนมิคส์ “ ในเชิงปฏิบัติว่าคือ ”การศึกษาเกี่ยวกับการประสานกัน หรืออันตรกิริยาระหว่างมนุษย์และเครื่องมืออุปกรณ์ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์ทำงานอยู่“ ความหมายนี้ดูเหมือนจะครอบคลุมองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดไว้แล้ว คือ มนุษย์ เครื่องมืออุปกรณ์ สิ่งแวดล้อมและอันตรกิริยาที่ซับซ้อนระหว่างปัจจัยทั้งสามนี้ ความหมายของคำว่า “ เออร์โกโนมิคส์ “อีกอย่างหนึ่งที่ขยายความเพิ่มขึ้นจากที่กล่าวมาแล้ว โดยครอบคลุมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ เครื่องมืออุปกรณ์ สถานีงาน ( workstation ) และระบบงาน ( work system ) เพื่อให้บุคคลผู้ใช้ผู้ทำงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

5. ในฐานะผู้ใช้อคอมพิวเตอร์ คุณจะมีส่วนช่วยในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างไร
5.1บริษัทสนับสนุนส่งเสริมให้พนักงานปฎิบัติหน้าที่โดยยึดหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณที่ดี ทั้งการ
ปฎิบัติหน้าที่ภายในบริษัท และภายนอกบริษัท
5.2บริษัทถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม จึงมีหน้าที่สนับสนุนและพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อความอยู่รอดในระยะยาวของบริษัท
5.3บริษัทจัดสรรงบประมาณประมาณ 1% ของกำไรสุทธิ และสนุบสนุนให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆที่ช่วยสนับสนุนและพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการดูแลผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัททั้งทางตรงและทางอ้อม
5.4บริษัทให้ความร่วมมือและสนับสนุนหน่วยงานของรัฐในการป้องกัน ปิดกั้น ต่อต้านการกระทำที่ผิดกฏหมาย โดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับกิจการบริษัท
5.5บริษัทส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในภาพรวมทุกๆด้าน เช่น การจัดการด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน การพัฒนาความรู้ การส่งเสริมบรรยากาศการทำงานที่มีความรักใคร่สามัคคี การดูแลด้านสุขภาพและพลานามัย

แบบทดสอบปลายเปิดบทที่ 10 (1)

แบบทดสอบปลายเปิดบทที่10 (1)
คำสั่ง จงอธิบายคำถามแต่ละข้อต่อไปนี้ให้สมบูรณ์

1. อภิปรายความสัมพันธ์ระหว่างฐานข้อมูล และภาวะส่วนตัว
ภาวะส่วนตัว เกี่ยวข้องกับการเก็บรักษาและการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
• การใช้งานที่ควรตระหนัก ได้แก่
– ฐานข้อมูลขนาดใหญ่
– สิทธิส่วนบุคคล
– อินเทอร์เน็ต และเว็บ

• ภาวะส่วนตัวเป็นประเด็นหลักของจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์
• สำหรับประเทศไทยอยู่ในระหว่างการดำเนินการออกกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ร่างกฎหมายโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ - เนคเทค)

ฐานข้อมูลขนาดใหญ่
• บางหน่วยงานของรัฐบาลและเอกชนจะมีฐานข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนตัวของแต่ละบุคคลไว้
• ผู้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่
– หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือรับผิดชอบ
– ผู้ขายข้อมูล (information re-seller หรือ information broker)
• การกระทำที่ไม่ถูกต้อง
– การแพร่กระจายข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ
• โจรสวมรอย (identity theft)
– การแพร่กระจายข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
• คุณลักษณะที่ผิดพลาด (mistaken identity)
สิทธิส่วนบุคคล
• การแอบดูการทำงานของลูกจ้าง การแอบดูไฟล์หรืออีเมล์
– ใช้โปรแกรมสนู้ปแวร์ (snoop ware)
• การตรวจสอบเนื้อหาโดยผู้ให้บริการ
– กลั่นกรองและปฏิเสธข้อมูล
– ยกเลิกรหัสผู้ใช้
อินเทอร์เน็ตและเว็บ

• ความลวงของการไม่มีตัวตน (illusion of anonymity)
– การไม่ใช้ชื่อ-นามสกุลหรือข้อมูลส่วนตัวจริง
– ไม่สนใจในภาวะส่วนตัวเมื่อท่องอินเทอร์เน็ต หรือส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
• ไฟล์ประวัติ (history file)
• คุกกี้ (cookies)
– คุกกี้แบบดั้งเดิม (traditional cookies)
– คุกกี้แอ็ดเน็ตเวิร์ก หรือคุกกี้แอ็ดแวร์ (ad network cookies หรือ adware cookies)
• โปรแกรมสายลับ (spyware)

• โปรแกรมต่อต้านหรือกำจัดโปรแกรมสายลับ (anti-spyware program หรือ spy removal program)

2. อธิบายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆ

อาชญากรรม 6 ประเภทดังกล่าวได้แก่
1.การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)

2.การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม แบบเก่า โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์

3.การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)

4.การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ – ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว

5.ภาพอนาจารทางออนไลน์ – ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252A การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้แย้งอย่างกว้างขวาง

6.ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด

3. มาตรการการป้องกันความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ที่สำคัญมีอะไรบ้าง การเข้าถึงรหัสคืออะไร บริษัท หรือบุคคลจะใช้ได้อย่างไร

หลักการแนวคิด 5 ข้อที่เกี่ยวข้องกับมาตรการควบคุมที่สำคัญเพื่อการปกป้องระบบคอมพิวเตอร์
1. Offense informs defense: ถ้าหากเราทราบถึงวิธีหรือขั้นตอนในการกระทำผิดนั้นๆ และเราก็จะทราบทราบถึงวิธีการป้องกันการกระทำผิดเหล่านั้นด้วย
2. Prioritization: ให้ลำดับความสำคัญที่จะดำเนินการกับความเสี่ยงที่สำคัญๆ ก่อน หรือทำการป้องกันในจุดที่จะก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรง ตามลำดับก่อนหลัง
3. Metrics: นำเสนอข้อมูลตัวชี้วัดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น มูลค่าความเสียหายหากถูกโจมตีจากจุดอ่อนต่างๆ ความสำคัญของระบบ หรือข้อมูลในองค์กร และ ข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถประเมินได้ให้กับผู้บริหาร ฝ่ายไอที ผู้ตรวจสอบ และบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยเพื่อช่วยกันประเมินและปรับปรุงข้อมูลเหล่าตัวชี้วัดนั้นได้รวดเร็วขึ้น
4. Continuous monitoring: ดำเนินการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องเพื่อทดสอบและตรวจสอบประสิทธิผลของมาตรการรักษาความปลอดภัยในปัจจุบัน
5. Automation: ระบบอัตโนมัติสามารถเชื่อถือได้ และทำการขยายขีดความสามารถ รวมทั้งตรวจวัดได้อย่างต่อเนื่อง ตามข้อควรปฏิบัติในระเบียบวิธีการควบคุม และตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง

4. การยศาสตร์คืออะไร การใช้คอมพิวเตอร์มีผลต่อสุขภาพด้านจิตใจ และร่างกายอย่างไร มีขั้นตอนที่จะลดความเครียดจากเทคโนโลยีได้อย่างไร
ตอบการยศาสตร์ (Ergonomics)
การยศาสตร์หมายความว่า “ศาสตร์ในการจัดสภาพงานให้เหมาะกับคนทำงาน“หรือ “การศึกษาคนในสิ่งแวดล้อมการทำงาน“ นั่นเอง และอีกความหมายหนึ่ง การยศาสตร์ คือ การศึกษาสภาวะแวดล้อมของการทำงาน โดยใช้หลักคิดว่า "เราจะทำให้คนทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร" การจัดสภาพแวดล้อมอย่างไร ที่จะทำให้คนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจ่ายค่าแรงน้อยที่สุด ใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด เพื่อให้ผลผลิตออกมามากที่สุด หรือพูดอีกอย่างว่าทำให้งานนั้นมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ไปพร้อม ๆ กัน ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเมื่อก่อน และได้มีสหภาพแรงงานเกิดขึ้น สำหรับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization, ILO ) ได้ให้คำจำกัดความของการยศาสตร์ไว้ว่า “การประยุกต์ใช้วิชาการทางด้านชีววิทยาของมนุษย์ และวิศวกรรมศาสตร์ให้เข้ากับคนงานและสิ่งแวดล้อมในการทำงานของเขา เพื่อให้คนงานเกิดความพอใจในการทำงาน และได้ผลผลิตสูงสุด” ดังนั้น การยศาสตร์จึงเป็นวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการปรับงานให้เข้ากับความสามารถทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีผู้ให้ความหมายของ “ เออร์โกโนมิคส์ “ ในเชิงปฏิบัติว่าคือ ”การศึกษาเกี่ยวกับการประสานกัน หรืออันตรกิริยาระหว่างมนุษย์และเครื่องมืออุปกรณ์ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์ทำงานอยู่“ ความหมายนี้ดูเหมือนจะครอบคลุมองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดไว้แล้ว คือ มนุษย์ เครื่องมืออุปกรณ์ สิ่งแวดล้อมและอันตรกิริยาที่ซับซ้อนระหว่างปัจจัยทั้งสามนี้ ความหมายของคำว่า “ เออร์โกโนมิคส์ “อีกอย่างหนึ่งที่ขยายความเพิ่มขึ้นจากที่กล่าวมาแล้ว โดยครอบคลุมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ เครื่องมืออุปกรณ์ สถานีงาน ( workstation ) และระบบงาน ( work system ) เพื่อให้บุคคลผู้ใช้ผู้ทำงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

5. ในฐานะผู้ใช้อคอมพิวเตอร์ คุณจะมีส่วนช่วยในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างไร
-บริษัทสนับสนุนส่งเสริมให้พนักงานปฎิบัติหน้าที่โดยยึดหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณที่ดี ทั้งการ
ปฎิบัติหน้าที่ภายในบริษัท และภายนอกบริษัท
-บริษัทถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม จึงมีหน้าที่สนับสนุนและพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อความอยู่รอดในระยะยาวของบริษัท
-บริษัทจัดสรรงบประมาณประมาณ 1% ของกำไรสุทธิ และสนุบสนุนให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆที่ช่วยสนับสนุนและพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการดูแลผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัททั้งทางตรงและทางอ้อม
-บริษัทให้ความร่วมมือและสนับสนุนหน่วยงานของรัฐในการป้องกัน ปิดกั้น ต่อต้านการกระทำที่ผิดกฏหมาย โดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับกิจการบริษัท
-บริษัทส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในภาพรวมทุกๆด้าน เช่น การจัดการด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน การพัฒนาความรู้ การส่งเสริมบรรยากาศการทำงานที่มีความรักใคร่สามัคคี การดูแลด้านสุขภาพและพลานามัย

แบบทดสอบปลายเปิดบทที่ 9 (3)

คำสั่ง ให้นักศึกษาวิเคราะห์ สภาพแวดล้อม (Environment Analysis) เรียกว่า การวิเคราะห์สวอท (SWOT Analysis) SWOT คือ จุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน (Weakness) โอกาส (Opportunity) อุปสรรค(Threat) เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์การ ช่วยให้ทราบถึงโอกาสอุปสรรค รวมถึงศักยภาพและความพร้อมขององค์การ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกขององค์การจะพิจารณาเกี่ยวกับโอกาส และอุปสรรค แบ่งการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไป และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน
ก. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไป วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบในมุมกว้าง เช่น การเมือง เทคโนโลยี สังคม และเศรษฐกิจ
ข. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน วิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลเกี่ยวต่อการดำเนินงานขององค์การโดยตรง เช่น รัฐบาล ชุมชน ผู้ขายวัตถุดิบ คู่แข่งขัน ลูกค้า และกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นต้น

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การจะช่วยให้ทราบถึงจุดแข็ง จุดอ่อน ขององค์การ เช่น การเงิน การตลาด การดำเนินงาน การวิจัยและพัฒนา การบริหารวัตถุดิบ และการบริหารทรัพยากรบุคคล เป็นต้นให้ชัดเจนตามหัวข้อต่อไปนี้

1. ฝ่ายบุคคล
ช่องทางการเข้าสู่อาชีพการทำงาน HR ที่ตรงกับความต้องการของนายจ้างมากที่สุด คือการเรียนจบในคณะต่าง ๆ ดังนี้  คณะศิลปศาสตร์ (เอกจิตวิทยา/เอกจิตวิทยาอุตสาหกรรม) คณะรัฐศาสตร์ (เอกบริหารรัฐกิจ/เอกการปกครอง/เอกรัฐประศาสนศาสตร์) คณะพาณิชยศาสตร์ (เอกบริหารทรัพยากรมนุษย์) คณะและสาขาวิชาดังที่กล่าวมา จะสอนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับงาน HR โดยตรง
          ถึงแม้ว่า ผู้หางานจะไม่ได้เรียนจบมาจากคณะดังกล่าวโดยตรง แต่โอกาสที่จะได้งาน HR ก็ยังไม่หมดเสียทีเดียว เพราะในบางบริษัทอาจจะเขียนประกาศรับสมัครงานแบบเปิดกว้าง คือ จบสาขาใดมาก็ได้ เพียงแต่ว่าผู้สมัครงาน จะต้องนำเสนอข้อดีของตนให้มากขึ้น เพื่อจูงใจให้นายจ้างเห็นว่าเรามีคุณสมบัติที่ตรงกับงาน และมีความสามารถเพียงพอ ที่จะรับผิดชอบงานนี้ได้ แม้ว่าจะไม่ได้จบมาโดยตรง
คุณสมบัติตรงใจได้งาน HR
          ไม่เพียงแต่ต้องมีความรู้ความสามารถที่ตรงกับสายงาน HR เท่านั้น แต่เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลนั้น ยังต้องมีคุณสมบัติ หรือบุคลิกส่วนตัวที่ช่วยให้การทำงาน HR ประสบผลสำเร็จ ซึ่งมีดังต่อไปนี้
ทำงานได้เหนือความคาดหมาย ความช่วยเหลือ และการบริการที่รวดเร็วฉับไว เป็นสิ่งที่พนักงานคนอื่น ๆ คาดหวัง ดังนั้น การที่สามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว จะทำให้พนักงานเกิดความประทับใจ และรู้สึกได้ว่า HR สามารถเป็นที่พึ่งพาได้
เป็นนักเรียนรู้ พนักงาน HR ต้องเป็นผู้ที่แสวงหาความรู้อยู่เสมอ รู้จักอัพเดทข้อมูลข่าวสาร ทั้งที่เกี่ยวข้องกับงาน HR เช่น การเสียภาษี หรือ กฎหมายแรงงานต่าง ๆ เพื่อจะได้นำข้อมูลเหล่านี้ ไปบอกกล่าวกับพนักงานได้อย่างถูกต้อง
เป็นผู้ให้คำปรึกษา อาจจะมีบางครั้งที่พนักงานต้องพบเจอกับอุปสรรค ไม่ว่าในเรื่องของการทำงาน หรือเรื่องชีวิตส่วนตัว ปัญหาเหล่านี้อาจจะเป็นสิ่งที่ขัดขวางการทำงานได้ ดังนั้น เจ้าหน้าที่ HR จึงต้องช่วยเหลือ ด้วยการหาวิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง หรือให้คำแนะนำเมื่อจำเป็น
เข้าถึงบุคคลได้ทุกกลุ่ม ผู้ที่ทำหน้าที่ HR ต้องไม่เลือกที่รักมักที่ชัง และไม่แสดงออกว่า ตัวเองชอบ หรือไม่ชอบใคร จนดูผิดสังเกต เพราะจะทำให้พนักงานไม่กล้าเข้าหา จนทำให้เกิดช่องว่างขึ้นมาได้
HR เป็นผู้เก็บความลับ เพราะงาน HR เป็นงานที่ต้องดูแลข้อมูลต่าง ๆ ของพนักงานส่วนหนึ่ง ทั้ง เงินเดือน และข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ จึงต้องเก็บรักษาความลับต่าง ๆ ให้ดี ไม่ควรเปิดเผยให้คนอื่นได้รับรู้
ส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร เจ้าหน้าที่บุคคลต้องช่วยให้เกิดความสัมพันธ์อันดี ทั้งต่อองค์กร และต่อพนักงานด้วยกันเอง ให้มีความผูกพันแน่นแฟ้น อันจะนำไปสู่ความเป็นองค์กรที่มีภาพลักษณ์ที่ดี
                                                                         
2.ฝ่ายบัญชี
หน้าที่หลักของการบัญชี
1.             ตรวจสอบรายรับรายจ่ายต่างๆ ของบริษัท
2.             บันทึกบัญชีของสมุดรายวันชั้นต้นตรวจสอบ Statement
3.             จัดทำรายการทางการเงินประจำเดือน (งบทดลองและรายละเอียดลูกหนี้)
4.             ใบเรียกเก็บเงิน
5.             บัญชีค่าใช้จ่าย
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการตลาด
1.  ระบบบัญชีการเงิน (financial accounting system) บัญชีการเงินเป็นการบันทึกรายการคำที่เกิดขึ้นในรูปตัวเงิน จัดหมวดหมู่รายการต่าง ๆ สรุปผลและตีความหมายในงบการเงิน ได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสด โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ นำเสนอสารสนเทศแก่ผู้ใช้และผู้ที่สนใจข้อมูลทางการเงินขององค์การ เช่น นักลงทุนและเจ้าหนี้ นอกจากนี้ยังจัดเตรียมสารสนเทศในการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่งนักบัญชีสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศใช้ในการประมวลข้อมูล โดยจดบันทึกลงในสื่อต่าง ๆ เช่น เทปหรือจานแม่เหล็ก เพื่อรอเวลาสำหรับทำการประมวลและแสดงผลข้อมูลตามต้องการ
                2.  ระบบบัญชีบริหาร (managerial accounting system) บัญชีบริหารเป็นการนำเสนอข้อมูลทางการเงินแก่ผู้บริหาร เพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ ระบบบัญชีจะประกอบด้วย บัญชีต้นทุน การงบประมาณ และการศึกษาระบบ โดยมีลักษณะสำคัญคือ
·       ให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศทางการบัญชีแก่ผู้ใช้ภายในองค์การ
·       ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในอนาคตของธุรกิจ
·       ไม่ต้องจัดทำสารสนเทศตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
·       มีข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน
·       มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน

3. ฝ่ายการตลาด
ความต้องการของระบบใหม่
1. แก้ปัญหาความล่าช้าในการรายงานข้อมูล
2. ลดต้นทุนของการจดบันทึกและรายงานข้อมูล
3. ทาให้มีการควบคุมการทางานที่รัดกุมยิ่งขึ้น
4. เพิ่มประสิทธิภาพในการทา งานของแผนกบัญชี
5. การจัดทารายงานผลสะดวกมากยิ่งขึ้น

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากระบบงานใหม่
ประโยชน์จากการนาระบบการบัญชี/การเงิน มาประยุกต์ใช้ในบริษัทมีดังนี้
1. มีการรายงานผลข้อมูลรวดเร็วยิ่งขึ้น

2. ลดค่าใช้จ่ายของบริษัท
3. มีความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลเนื่องจากมีการควบคุมการทางานที่รัดกุมขึ้น
4. มีการใช้ฐานข้อมูลร่วมกันทาให้ข้อมูลบางส่วนสามารถใช้ร่วมกันได้
5. บริษัทมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นในการนา เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้
6. สามารถรองรับการขยายตัวของบริษัท และการเพิ่มขึ้นของสาขาทั่วประเทศ

4. ฝ่ายไอที
หน้าที่หลักของการตลาด
1.จัดการเกี่ยวกับสินค้าและบริการ คือ การดำเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในสินค้าและบริการ เพื่อให้เกิดความพอใจและตรงกับความต้องการของผู้บริโภคหรือลูกค้ามากที่สุด
2. แจกจ่ายสินค้าและบริการ สินค้าที่ผลิตขึ้นมาแล้วจำเป็นต้องมีการจัดส่งไปยังผู้บริโภค
3. การบริการให้ความสะดวก  เพื่อให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างมั่นคง  และถาวร  การตลาดจึงต้องให้การบริการและอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจต่าง ๆ
4.สื่อสารข้อมูลทางการตลาด  เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด  เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดได้แล้วจะต้องนำข้อมูลความต้องการสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ให้แก่ผู้ผลิต  เพื่อผู้ผลิต จะได้นำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงสินค้าและบริการขึ้นมาใหม่ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าหรือผู้ผลิต จะมีฝ่ายการผลิตเป็นผู้ดำเนินการปรับปรุงสินค้า และฝ่ายประชาสัมพันธ์ภายในบริษัทจะทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์สินค้าตัวใหม่ไปยังลูกค้าและผู้อุปโภค  บริโภค  เพื่อให้ผู้บริโภคหรือลูกค้าได้ทราบถึงสินค้าหรือบริการใหม่ ผู้ผลิตต้องทราบความเคลื่อนไหวทางการตลาดได้ถูกต้อง  เพื่อเป็นข้อมูลที่จะนำไปสู่การผลิตสินค้าและบริการมาสนองให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง  
5.การวิเคราะห์ตลาด การวิเคราะห์ตลาดเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของตลาด อันจะทำให้ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าและบริการได้ตรงความต้องการของลูกค้าได้ตลอดเวลา และการวิเคราะห์ตลาดยังเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศได้ เพราะผู้ผลิตและผู้บริโภคสามารถทราบข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน และคาดคะเนผลที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทำให้มีการเตรียมแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและถูกวิธีด้วย  
6.การทำให้สินค้าต่างกัน เมื่อได้รับข้อมูลจากการวิเคราะห์แล้ว หน้าที่ของตลาดก็จะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสินค้าและบริการขึ้นใหม่ เพื่อสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ซื้อ
7.การตีราคาการตีราคาจะช่วยในการพิจารณาจุดคุ้มทุนว่าการซื้อขายแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้น ทางการตลาดนั้นมีประโยชน์คุ้มค่าหรือไม่ หรือสร้างความพอใจให้กับผู้ซื้อ-ขายหรือไม่หรือหากต้นทุนสูงกว่าผลประโยชน์ของสังคมก็ควรจะต้องมี การปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์และการตลาดให้เหมาะสม
8.การแบ่งส่วนตลาด เป็นการทำให้ตลาดมีขนาดเล็กลง เพื่อสะดวกในการแลกเปลี่ยน ซื้อขายสินค้า เนื่องจากผู้ผลิตสามารถเจาะจงลูกค้าได้ ในขณะที่ผู้บริโภคเองก็สามารถเลือกสินค้าและบริการเฉพาะอย่างได้มากขึ้น ทำให้เกิดการประหยัดทั้งการผลิตและบริโภคด้วย
v -ย่อมาจาก information technology แปลว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงเทคโนโลยีในการรวบรวมข้อมูล การจัดเก็บอย่างมีระบบ การเรียกหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว การประมวลผล การวิเคราะห์ผลที่ได้จากการประมวลนั้น รวมไปถึงการเน้นในเรื่องการแสดงผล และประชาสัมพันธ์สารสนเทศนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ ในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้ที่จะนำไปใช้ต่อไป ตลอดไปจนถึงการสื่อสารข้อมูลนั้นไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย ว่ากันว่า IT กำลังจะก้าวเข้ามาแทนวิชา MIS (management information system) เพราะมีขอบเขตกว้างขวางกว่ามาก สรุปสั้น ๆ ได้ว่า เป็นเหมือนการนำวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (computer science) รวมกับนิเทศศาสตร์ (mass communications)

5. ฝ่ายผลิต
ฝ่ายการผลิต
หน้าที่หลักของการผลิต
การผลิต (production) เป็นกระบวนการแปรรูปทรัพยากรการผลิต เช่น วัตถุดิบ แรงงาน และ พลังงาน ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่พร้อมในการจัดจำหน่ายแก่ลูกค้า โดยผู้ผลิตต้องพยากรณ์ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า โดยไม่ให้มีจำนวนมากหรือน้อยจนเกินไป ตลอดจนควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของลูกค้า โดยมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม ปัจจุบันการขยายตัวของธุรกิจจากการผลิตเข้าสู่สังคมบริการ ทำให้มีการประยุกต์หลักการของการจัดการผลิตกับงานด้านบริการ ซึ่งเราจะเรียกการผลิตในหน่วยบริการว่า “การดำเนินงาน (operations)” โดยที่แหล่งข้อมูลในการผลิตและการดำเนินงานขององค์การมีดังต่อไปนี้
                1.  ข้อมูลการผลิต/การดำเนินงาน (production/operations data)  เป็นข้อมูลจากกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ ซึ่งจะแสดงภาพปัจจุบันของระบบการผลิตของธุรกิจว่ามีประสทธิภาพมากน้อยเพียงใด และมีปัญหาอย่างไรในการดำเนินงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนในการแก้ปัญหาและการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานในอนาคต
                2.  ข้อมูลสินค้าคงคลัง (inventory data) บันทึกปริมาณวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปที่เก็บไว้ในโกดัง โดยผู้จัดการต้องพยายามจัดให้มีสินค้าคงคลังในปริมาณไม่เกินความจำเป็นหรือขาดแคลนเมื่อเกิดความต้องการขึ้น
                3.  ข้อมูลจากผู้ขายวัตถุดิบ (supplier data)  เป็นข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณ คุณสมบัติ และราคาวัตถุดิบ ตลอดจนช่วงทางและต้นทุนในการลำเลียงวัตถุดิบ ปัจจุบันการพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (electronic data interchange) หรือที่เรียกว่า EDI ช่วยให้การประสานงานระหว่างผู้ขายวัตถุดิบ ธุรกิจ และลูกค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น
                4.  ข้อมูลแรงงานและบุคลากร (labor force and personnel data) ข้อมูลเกี่ยวกับพนักงานในสายการผลิตและปฏิบัติการ เช่น อายุ การศึกษา และประสบการณ์ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดบุคลากรให้สอดคล้องกับงาน ขณะที่ข้อมูลภายนอกเกี่ยวกับตลาดแรงงานจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนและจัดหาแรงงานทดแทน และการกำหนดอัตราค่าจ้างอย่างเหมาะสม
                5.  กลยุทธ์องค์การ (corporate strategy)  แผนกลยุทธ์ขององค์การจะเป็นแม่บทและแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์การผลิตแลการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
     ******* 1.ฝ่ายการตลาดและการขาย
                - เรียกดูรายงานข้อมูลสินค้าที่ผลิต
2.ฝ่ายการผลิต
                -  ต้องการทราบว่าให้ผลิตสินค้าชนิดใดเพิ่ม
-  ต้องการทราบยอดสินค้าที่ผลิต
                -  แจ้งยอดสินค้าต่อฝ่ายผลิต
               -  บอกว่าต้องการชนิดใดเพิ่ม
         -  รายงานกิจกรรมทางการตลาด
3.ระบบพิมพ์งาน
                - นำข้อมูลจากระบบการผลิตมาทำรายงาน
                - นำข้อมูลจาก D1 มาทำรายงานส่งให้กลับฝ่ายการตลาดและการขาย
4.ฝ่ายคลังสินค้า
                -  ต้องการทราบจำนวนสินค้าที่ผลิต
                -  ระบบรายงานจำนวนสินค้าต่อฝ่ายคลังสินค้า
5.ฝ่ายบัญชี
                - นำข้อมูลจาก D2 , D3 มาจัดการข้อมูล
6.ระบบจัดการข้อมูล
                - นำข้อมูลจากฝ่ายการตลาดและการขาย,ฝ่ายการผลิต,ฝ่ายคลังสินค้ามาเก็บไว้ใน D1 D2 และD3
 **** การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการผลิต

            1. การใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยช่วยในการผลิตสินค้า  ทำให้ผลิตสินค้าและบริการจำนวนมากขึ้น ในเวลารวดเร็ว มีปริมาณเพียงพอต่อการบริโภค และลดต้นทุนการผลิต เพราะเทคโนโลยีช่วยลดแรงงานหรือกำลังคนและลดเวลาการผลิต แต่ได้ปริมาณสินค้าและบริการมาก

            2. การใช้เทคโนโลยีช่วยในการออกแบบสินค้า ช่วยให้มีการคิดค้นหรือประดิษฐ์รูปแบบของสินค้า ทำให้ได้สินค้าและบริการที่มีรูปแบบใหม่ๆ หลากหลาย เพื่อให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกซื้อได้ตามความต้องการและพึงพอใจมากที่สุด

            3. การใช้เทคโนโลยีช่วยในการโฆษณาสินค้าและการให้บริการ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการขายสินค้าและสั่งซื้อสินค้าต่างๆ โดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การโฆษณาทางวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ต่างๆ ทำให้ผู้บริโภคสามารถศึกษารายละเอียดของสินค้าได้มากขึ้นหรือสามารถสั่งซื้อสินค้าได้สะดวกรวดเร็ว

            4. การใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดการ เพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เป็นระบบ รวดเร็ว เช่น การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในสำนักงานเพื่อจัดเก็บเอกสารหรือค้นหาข้อมูล เป็นต้น

            5. การใช้เทคโนโลยีช่วยในการขนส่ง เพื่อให้กระบวนการขนส่งวัตถุดิบในการผลิตรวดเร็วขึ้น หรือขนส่งสินค้าและบริการไปถึงผู้บริโภคได้สะดวกรวดเร็วขึ้น

แบบทดสอบปลายเปิดบทที่ 9 (2)

คำสั่ง ให้นักศึกษาสรุปบทที่ 9 ทั้ง 3 ตอนและวางแผนกลยุทธในการบริหาร การพัฒนาองค์กร และงบประมาณฝ่ายต่างๆ ตามนโยบาย "การพัฒนาองค์กรเพื่อความยั่งยืน" โดยเพิ่มการสร้าง Mapping ให้ชัดเจนตามหัวข้อต่อไปนี้

1. ฝ่ายบุคคล
 การเตรียมบุคลากรให้พร้อมเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะสร้างและพัฒนา ตลอดจนการใช้งานระบบสารสนเทศเมื่อจัดสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว บุคลากรที่ต้องจัดเตรียมควรเป็นทั้งระดับผู้บริหาร นักเทคโนโลยีสารสนเทศ นักวิชาชีพเฉพาะ และพนักงานปฏิบัติการ เพื่อให้มีความรู้ ทักษะ และความเข้าใจในขีดความสามารถและศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการจัดฝึกอบรมหรือบรรยายพิเศษ รวมทั้งการสรรหาบุคลากรทางสารสนเทศให้สอดคล้องกับความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคตของหน่วยงาน

2. ฝ่ายบัญชี
เตรียมกำหนดจำนวนเงินและวางแนวทางในการจัดหาเงินที่จะมาพัฒนาระบบสารสนเทศให้เพียงพอกับแผนที่วางไว้ ตลอดจนจัดทำงบประมาณสำหรับการพัฒนาระบบในอนาคต เนื่องจากเทคโนโลยีขององค์การอาจจะล้าสมัยและสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในระยะเวลาสั้น
3. ฝ่ายการตลาด
ผู้บริหารต้องจัดทำแผนการจัดสร้างหรือพัฒนาระบบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งอาจจะต้องมีการจัดตั้งคณะทำงาน ซึ่งอาจจะประกอบด้วยผู้บริหาร ผู้ใช้ นักออกแบบระบบและผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาปฏิบัติงานร่วมกัน

4. ฝ่ายไอที
 ระบบสารสนเทศเกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลขององค์การ นักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้จะศึกษาหรือพิจารณาถึงข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ ที่องค์การต้องการและใช้ในการดำเนินงานอยู่เป็นประจำ เพื่อที่จะทำการรวบรวมและจัดระเบียบเก็บไว้ในระบบสารสนเทศ และเมื่อมีความต้องการข้อมูล ก็สามารถเรียกออกมาใช้ได้ทันที โดยการพัฒนาระบบต้องให้ความสำคัญกับภาพรวมและความสอดคล้องในการใช้งานสารสนเทศขององค์การเป็นสำคัญ

5. ฝ่ายผลิต
ทำความเข้าใจต่อบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจปัจจุบัน เพื่อให้สามารถนำความรู้ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับงานที่กำลังทำอยู่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันขององค์การ เช่น การนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในระบบคลังสินค้าของบริษัท การใช้ความก้าวหน้าด้านการสื่อสารมาช่วยในการเชื่อมโยงข้อมูลของแผนกต่าง ๆ หรือการใช้ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในการเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ขายวัตถุดิบ องค์การ และลูกค้า เป็นต้น

แบบทดสอบปลายเปิดบทที่ 9 (1)

คำสั่ง ให้นักศึกษาสรุปบทที่ 9 ทั้ง 3 ตอนตามหัวข้อต่อไปนี้

1. แนวโน้มในด้านบวกและลบของการปรับปรุงรูปแบบการทำงานขององค์กร
ตอบ  การปรับปรุงรูปแบบการทำงานขององค์การ
เทคโนโลยีหลายอย่างได้ถูกนำเข้ามาใช้ภายในองค์การ และส่งผลให้กระบวนการทำงานได้เปลี่ยนรูปแบบไป ตัวอย่างเช่น การนำเอาเทคโนโลยีไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (eletronics mail) เข้ามาใช้ภายในองค์การ ทำให้การส่งข่าวสารไม่ต้องใช้พนักงานเดินหนังสืออีกต่อไป ตลอดจนลดการใช้กระดาษที่ต้องพิมพ์ข่าวสารและสามารถส่งข่าวสารไปถึงบุคคลที่ต้องการได้เป็นจำนวนมากและรวดเร็ว หรือเทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ (ofice automation) ที่เปลี่ยนรูปแบบของกระบวนการทำงานและประสานงานในองค์การให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานของผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ขององค์การ

2. แนวโน้มในด้านบวกและลบเครื่องมือในการทำงาน
ตอบ  เทคโนโลยีถูกนำเข้ามาใช้ภายในองค์การ เพื่อให้การทำงานคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ เช่น การออกเอกสารต่าง ๆ โดยใช้คอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบชิ้นส่วนของเครื่องจักร และการควบคุมการผลิต เป็นต้น เราจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสามารถที่จะนำมาประยุกต์ในหลาย ๆ ด้าน โดยเทคโนโลยีจะช่วยเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงคุณภาพของการที่จะนำมาประยุกต์ในหลาย ๆ ด้าน โดยเทคโนโลยีจะช่วยเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงคุณภาพของการทำงานให้ดีขึ้น หรือแม้กระทั่งช่วยลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของแรงงานและวัสดุสิ้นเปลืองต่าง ๆลง แต่ยังคงรักษาหรือเพิ่มคุณภาพในการทำงานหรือการให้บริการลูกค้าที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าเทคโนโลยีจะถูกนำเข้ามาใช้ในการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงกระบวนการในการดำเนินงานขององค์การมากขึ้นในอนาคต

3. แนวโน้มในด้านบวกและลบการเพิ่มผลผลิตของงานโดยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ตอบ  เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์จะมีความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือได้ในการทำงานที่ซ้ำกัน ตลอดจนสามารถตรวจสอบรายละเอียดและข้อผิดพลาดของผลิตภัณฑ์ได้ตามมาตรฐานที่ต้องการ ซึ่งจะช่วยประหยัดระยะเวลาและแรงงาน ประการสำคัญ ช่วยให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์มีความสม่ำเสมอตามที่กำหนด

4. แนวโน้มในด้านบวกและลบเทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสาร
ตอบ  ในช่วงแรกของการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานทางธุรกิจคอมพิวเตอร์จะถูกใช้เป็นเพียงอุปกรณ์หลักที่ช่วยในการเก็บและคำนวณข้อมูลต่าง ๆ เท่านั้น ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาให้มีศักยภาพมากขึ้น โดยสามารถที่จะต่อเป็นระบบเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันผู้ใช้สามารถติดต่อเพื่อที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกันได้จากทุกหนทุกแห่งทั่วโลก คอมพิวเตอร์จึงมีบทบาทที่สำคัญมากกว่าการเป็นเครื่องมือที่เก็บและประมวลผลข้อมูลเหมือนอย่างในอดีตต่อไป

5. แนวโน้มในด้านบวกและลบการสนับสนุนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์
ตอบ   โดยเทคโนโลยีสารสนเทศจะผลิตสารสนเทศที่สำคัญให้แก่ผู้บริหารที่จะใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจและการสร้างความได้เปรียบเหนือกว่าคู่แข่งขัน ในอนาคตการแข่งขันในแต่ละอุตสาหกรรมจะมีความรุนแรงมากขึ้น การบริหารงานของผู้บริหารที่อาศัยเพียงประสบการณ์และโชคชะตาอาจจะไม่เพียงพอ แต่ถ้าผู้บริหารมีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมาประกอบในการตัดสินใจ ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาและบริหารงานได้มีประสิทธิภาพขึ้น ดังนั้นผู้บริหารในอนาคตจะต้องสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสร้างสารสนเทศที่ดีให้กับตนเองและองค์การ

แบบทดสอบปลายเปิดบทที่ 8

คำสั่ง ให้นักศึกษาอธิบายและสรุปการนำระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำงานตามหัวข้อต่อไปนี้

1. ระบบประมวลผลรายการ (TPS) หรือ (DPS)
ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการเปลี่ยนข้อมูลดิบจากการปฏิบัติงานให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องจักรสามารถอ่านได้, เก็บรายละเอียดรายการ, ประมวลผลรายการและสั่งพิมพ์รายละเอียดรายการ ออกมาได้ รายการ (Transaction) คือ การกระทำพื้นฐานที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการทางธุรกิจ เช่น การขายสินค้า การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าผ่านเครดิตการ์ดและการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง จัดเป็นรายการทั้งสิ้น ระบบประมวลผลรายการนิยมใช้ในการประมวลผลบัญชี, การขาย, หรือประมวลผลข้อมูลสินค้าคงคลัง เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้เป็นที่ต้องการของระบบสารสนเทศอื่นๆในองค์กร

2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS)
(Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้องแม้ว่าผู้บริหารที่จะได้รับประโยชน์จาก ระบบเอ็มไอเอสสูงสุดคือผู้บริหารระดับกลาง แต่โดยพื้นฐาน

3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS)
  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
        ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ได้เริ่มขึ้นในช่วง ปี ค.ศ. 1970 โดยมีหลายบริษัทเริ่มที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อที่จะช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน หรือกึ่งโครงสร้างโดยข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอด ซึ่งระบบสารสนเทศเดิมที่ใช้ในลักษณะระบบการประมวลผลรายการ (Transaction processing system) ไม่สามารถกระทำได้ นอกจากนั้นยังมีวัตถุประสงค์เพื่อลดแรงงาน ต้นทุนที่ต่ำลงและยังช่วยในเรื่องการวิเคราะห์การสร้างตัวแบบ (Model) เพื่ออธิบายปัญหาและตัดสินใจปัญหาต่างๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1980 ความพยายามในการใช้ระบบนี้เพื่อช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจได้แพร่ออกไป ยังกลุ่มและองค์การต่างๆ

4. ระบบสนับสนุนผู้บริหาร (ESS)
ระบบสนับสนุนผู้บริหาร [Executive support system (ESS)] มีลักษณะคล้ายกับระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) และ GDSSทั้งนี้เนื่องจาก DSS และ GDSS ใช้ในการจัดการกับปัญหาที่เป็นปัญหากึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง แต่ระบบสนับสนุนผู้บริหาร (ESS) จะใช้เฉพาะกับปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง ส่วนสำคัญ คือ ข้อมูลต่าง ๆ จะต้องมาจากฐานข้อมูลภายนอก และภายในมารวมกัน และผู้บริหารสามารถที่จะใช้ข้อมูล ในการวิเคราะห์โอกาส อุปสรรค และแนวโน้ม กลุ่มของผู้บริหารในองค์การที่มีการใช้ ESS ได้แก่ ประธานและรองประธานฝ่ายต่าง ๆบทบาทผู้บริหารและการตัดสินใจ (Executive roles and decision making) การตัดสินใจของผู้บริหารโดยส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic planning) การวางแผนยุทธวิธี (Tactical planning) และกิจการรมปัญหาเฉพาะหน้าที่ (Fire-fighting activity) ผู้บริหาร จำเป็นจะต้องมีการควบคุมเพื่อให้กิจกรรมต่าง ๆ บรรลุตามเป้าหมาย

5. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (OAS)
ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
        เป็นระบบที่ออกแบบขึ้นเพื่อช่วยให้การทำงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับอุปกรณ์ต่างๆ ของสำนักงาน เพื่อประโยชน์ในการใช้งาน ระบบสำนักงานอัตโนมัติประกอบด้วย
·        ระบบจัดการเอกสาร
·        ระบบจัดการด้านข่าวสาร
·        ระบบประชุมทางไกล
·        ระบบสนับสนุนสำนักงาน
         ระบบสำนักงานอัตโนมัติ Office Automation Systems(OAS)           ระบบสำนักงานอัตโนมัติ OAS คือ ระบบสารสนเทศที่สามารถสร้าง (Create) เก็บข้อมูล (Store) ปรับปรุงข้อมูล (Modify) แสดงภาพ (Display) และติดต่อสื่อสารระหว่างระบบธุรกิจ โดยการใช้คอมพิวเตอร์และระบบเทคโนโลยีการสื่อสาร เข้ามาช่วย แทนการพูด เขียน หรือส่งรูปภาพแบบเดิมผู้บริหารคอมพิวเตอร์
          ผู้บริหารคอมพิวเตอร์ อาจเป็นหัวหน้าของศูนย์คอมพิวเตอร์ หรือ ศูนย์เครือข่าย ก็ได้ อาจเรียกว่า PC Manager LAN Manager  มีหน้าที่หลักในการดูแลระบบและเครื่องคอมพิวเตอร์
1. ควบคุมปริมาณเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
2. ควบคุมค่าใช้จ่าย
3. ความเป็นเอกภาพและความปลอดภัยของข้อมูล
4. การระมัดระวังการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ ที่นอกเหนือการทำงาน

6. ระบบการทำงานที่ใช้ความรู้เฉพาะด้าน (KWS)
ระบบการจัดการองค์ความรู้ KWS (Knowledge Work System) และระบบการจัดการสำนักงาน Office System ได้นำเสนอข้อมูลที่จำเป็นต่อผู้ปฏิบัติงานระดับที่เป็นงานเฉพาะด้าน (Knowledge worker) ขององค์กร ซึ่งตรงกันข้ามกับระบบสำนักงานซึ่งเอื้อประโยชน์แก่การทำงานของพนักงานที่ทำงานเกี่ยวกับข้อมูลประจำวัน (Clerk) ซึ่งอย่างที่ได้ทราบกันมาดีแล้วว่า knowledge worker คือคนที่มีความสามารถเฉพาะทาง เช่น แพทย์ วิศวกร ซึ่งงานที่คนเหล่านี้ได้รับผิดชอบมีความสำคัญอย่างมากต่อการที่องค์กรจะสามารถสร้างข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร ในระบบนี้ knowledge worker จะออกแบบพื้นฐานความรู้เฉพาะด้านของตนเอง ผ่านกระบวนการการจำลองรูปแบบและทดลองการทำงาน ผลที่ได้รับออกมาคือ ต้นแบบของความรู้พื้นฐานที่ค้นพบ หรืออาจแสดงผลออกมาในรูปแบบของตารางการเปรียบเทียบ

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

แบบทดสอบปลายเปิดบทที่7 (2)

แบบทดสอบปลายเปิด บทที่ 7 (2)
คำสั่ง จงอธิบายความหมาย และแจกแจงข้อมูลที่กำหนดให้ละเอียดดังนี้

1. พจานุกรมข้อมูล หมายถึง
ตอบ  Data Dictionary คือ พจนานุกรมข้อมูล ที่แสดงรายละเอียดตารางข้อมูลต่างๆ ในฐานข้อมูล (Database) ซึ่งประกอบด้วยรีเลชั่น (Relation Name), แอตทริบิวต์ (Attribute), ชื่อแทน (Aliases Name), รายละเอียดข้อมูล (Data Description), แอตทริบิวโดเมน (Attribute Domain), ฯลฯ  ทำให้สามารถค้นหารายละเอียดที่ต้องการได้สะดวกมากยิ่งขึ้น  พจนานุกรมข้อมูลเป็นการผสมผสานระหว่างรูปแบบของพจนานุกรมโดยทั่วไปและรูปแบบของข้อมูลในระบบงานคอมพิวเตอร์  เพื่ออธิบายชนิดของข้อมูลแต่ละตัวว่าเป็น ตัวเลข อักขระ ข้อความ หรือวันที่ เป็นต้น  เพื่อช่วยในการอธิบายรายละเอียดต่างๆ ในการอ้างอิงหรือค้นหาที่เกี่ยวกับข้อมูล  หรือจะเรียกง่ายๆ ว่า Data Dictionary คือ เอกสารที่ใช้อธิบายฐานข้อมูลหรือการจัดเก็บฐานข้อมูล  ซึ่ง Data Dictionary มีประโยชน์ ดังนี้
-  จัดเก็บรายละเอียดข้อมูล
-  แสดงความหมายที่เกี่ยวกับระบบ
-  ทำเอกสารที่บอกคุณลักษณะของระบบ
-  หาข้อบกพร่องและสิ่งที่หายไปจากระบบ

2. ส่วนเครื่องมือสร้างระบบจัดการฐานข้อมูล หมายถึงอะไร
ตอบ  ระบบจัดการฐานข้อมูล ( Database Management System) หรือที่เรียกว่า   ดีบีเอ็มเอส (DBMS)
คือซอฟต์แวร์สำหรับบริหารและจัดการฐานข้อมูล เปรียบเสมือนสื่อกลางระหว่างผู้ใช้และโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ฐานข้อมูล ซึ่งมีหน้าที่ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายสะดวกและมีประสิทธิภาพ การเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ อาจเป็นการสร้างฐานข้อมูล การแก้ไขฐานข้อมูล หรือการตั้งคำถามเพื่อให้ได้ข้อมูลมาโดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้เกี่ยวกับรายละเอียดภายในโครงสร้างของฐานข้อมูล เปรียบเสมือนเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้และโปรแกรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ฐานข้อมูลซึ่งต่างจากระบบแฟ้มข้อมูลที่หน้าที่เหล่านี้จะเป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์

3. ไฟล์ คืออะไร
 ตอบ หมายถึง ข้อสนเทศหรือข้อมูลทั้งหมดที่เก็บไว้ในสื่อที่มีคุณสมบัติเป็น แม่เหล็กไม่ว่าจะเป็นจานบันทึกธรรมดา หรือจานแข็ง (hard disk) ก็ตาม ข้อสนเทศที่นำไปเก็บนั้น จะถูกนำไปเก็บไว้เป็นเรื่อง ๆ ไป อาจจะเป็นโปรแกรม ข้อมูล หรือภาพ (graphics) ก็ได้ แต่ละเรื่องต่างก็ต้องมีชื่อเป็น ของตนเอง ที่ต้องไม่ซ้ำกัน เรียกว่า "แฟ้มข้อมูล"

4. ฟิลด์หลัก หมายฟิลด์
ตอบ  (Field) ฟิลด์ หมายถึงการเก็บข้อมูล 1 ตัวอักษรหรือมากกว่าที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกันไว้ สามารถสื่อความหมายและบอกคุณลักษณะที่เราสนใจได้ เช่น ใช้ตัวอักขระจำนวน 8 ตัว มาประกอบกันเป็นชื่อคนเช่น ชื่อบุญสืบ ประกอบด้วยตัวอักษร BOONSUEP ตั้งชื่อฟิลด์นี้ว่าฟิลด์ NAME เพื่อใช้ในการเก็บชื่อ ข้อมูลชนิดฟิล์นี้จะใช้แทนข้อเท็จจริง คุณลักษณะของสิ่งที่เราสนใจศึกษา เช่น รหัสพนักงานชื่อ ที่อยู่ วันเกิด เงินเดือน ฯลฯ เป็นต้นถึง

5. มุมมองเชิงตรรกะ หมายถึงข้อมูลอะไร
ตอบ  มุมมองของข้อมูล
          ในมุมมองข้อมูลแต่ละกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องจะมองฐานข้อมูลได้ไม่ตรงกัน เช่น ถ้านักคอมพิวเตอร์ผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างข้อมูลจะมองฐานข้อมูลในรูปแบบการจัดเก็บที่ไหน อย่างไร แต่ถ้าผู้ใช้ฐานข้อมูลทั่วไปจะมองข้อมูลในลักษณะมโนทัศน์ ในรูปแบบคล้ายคลึงกับการจัดเก็บในเอกสาร ที่มีโครงสร้างเป็นตาราง ประกอบด้วยแถวหลาย ๆ แถว และหลาย ๆคอลัมน์
        1. มุมมองเชิงตรรกะ
มุมมองเชิงตรรกะ เป็นมุมมองการจัดเก็บข้อมูลแบบง่ายที่สุด ที่ทุก ๆ คนสามารถทำความเข้าใจการจัดเก็บข้อมูลแบบนี้ได้ ใช้มุมมองแบบนี้สำหรับสื่อสารทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ให้ข้อมูล หรือผู้ใช้ข้อมูลกับผู้ออกแบบฐานข้อมูล จนถึงผู้พัฒนาระบบสารสนเทศ โดยการมองข้อมูลเป็นลักษณะตาราง มีแถวหลายแถวมีคอลัมน์ จำนวนหนึ่ง ข้อมูลจัดเก็บอยู่ในช่องระหว่างแถวกับคอลัมน์ เมื่อทุกคนเข้าใจได้ง่ายทำให้การออกแบบฐานข้อมูลมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
         2. มุมมองเชิงกายภาพ
มุมมองเชิงกายภาพ จะเน้นที่สิ่งมองเห็นจริง เช่น แหล่งที่จัดเก็บข้อมูล ว่าจัดเก็บในแหล่งที่ใด อาจจะเป็น ฮาร์ดดิสก์หรือเทป จัดเก็บข้อมูลเป็นเช่นไร เข้ารหัสหรือไม่ ประเภทข้อมูลข้อความหรือภาพหรือเสียง มีการสร้างดัชนี ณ ตำแหน่งคอลัมน์ใด ๆ บ้าง ซึ่งมุมมองเชิงกายภาพจะเป็นเรื่องยากที่ผู้ใช้โดยทั่วไปจะเข้าใจได้ง่าย แต่สำหรับนักวิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูลจำเป็นต้องเข้าใจในมุมมองนี้ด้วย

6. ฐานข้อมูลแบบกระจาย คือฐานข้อมูลแบบไหน
ตอบ  ฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database)
ระบบฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ (Centralized Database System) ประกอบด้วย ฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล และหน่วยความจำ ที่ใช้ในการจัดเก็บฐานข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็นจาน บันทึก (Disk) สำหรับการจัดเก็บแบบเชื่อมตรง (on-line) หรืออาจจะเป็นแถบบันทึก (Tape) สำหรับ การจัดเก็บแบบไม่เชื่อมตรง (off-line) เพื่อใช้เป็น หน่วยเก็บสำรอง ระบบฐานข้อมูลแบบนี้สามารถ ถูกเรียกใช้งานได้จากจุดอื่นๆ ที่มีเครื่องปลายทาง (Terminal) ประจำอยู่ แต่ละฐานข้อมูลและ ซอฟต์แวร์จะอยู่รวมกันที่จุดเดียวเท่านั้น ซึ่งเมื่อ ระบบคอมพิวเตอร์เจริญมากขึ้น พร้อมทั้งพัฒนาการ ในเรื่องเครือข่ายสำหรับการติดต่อดีมากขึ้น ทำให้ มีการศึกษาและพัฒนาระบบฐานข้อมูลแบบ กระจายขึ้น เหตุจูงใจสำหรับการพัฒนาฐานข้อมูล แบบกระจายมีอยู่ด้วยกันหลายประการ

7. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย คือฐานข้อมูลแบบไหน
ตอบ  ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Database)
ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายจะเป็นการรวมระเบียนต่าง ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนแต่จะต่างกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ คือ ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะแฝงความสัมพันธ์เอาไว้ โดยระเบียนที่มีความสัมพันธ์กันจะต้องมีค่าของข้อมูลในแอททริบิวต์ใดแอททริบิวต์หนึ่งเหมือนกัน แต่ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย จะแสดงความสัมพันธ์อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น

8. SQL หมายถึงอะไร
ตอบ  SQL ย่อมาจาก structured query language คือภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เพื่อจัดการกับฐานข้อมูลโดยเฉพาะ เป็นภาษามาตราฐานบนระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์และเป็นระบบเปิด (open system) หมายถึงเราสามารถใช้คำสั่ง sql กับฐานข้อมูลชนิดใดก็ได้ และ คำสั่งงานเดียวกันเมื่อสั่งงานผ่าน  ระบบฐานข้อมูลที่แตกต่างกันจะได้ ผลลัพธ์เหมือนกัน ทำให้เราสามารถเลือกใช้ฐานข้อมูล ชนิดใดก็ได้โดยไม่ติดยึดกับฐานข้อมูลใดฐานข้อมูลหนึ่ง นอกจากนี้แล้ว SQL ยังเป็นชื่อโปรแกรมฐานข้อมูล ซึ่งโปรแกรม SQL เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีโครงสร้างของภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน มีประสิทธิภาพการทำงานสูง สามารถทำงานที่ซับซ้อนได้โดยใช้คำสั่งเพียงไม่กี่คำสั่ง โปรแกรม SQL จึงเหมาะที่จะใช้กับระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ และเป็นภาษาหนึ่ง ซึ่งแบ่งการทำงานได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. Select query ใช้สำหรับดึงข้อมูลที่ต้องการ
2. Update query ใช้สำหรับแก้ไขข้อมูล
3. Insert query ใช้สำหรับการเพิ่มข้อมูล
4. Delete query ใช้สำหรับลบข้อมูลออกไป

9. กระประมวลผลแบบทันที หมายถึงอะไร
ตอบ  การประมวลผลแบบทันที (real-time processing) คือ การประมวลผลข้อมูลจากสถานที่จริงจากเวลาและเหตุการณ์จริง โดยปกติแล้วจะทำควบคู่กับแบบ On-line processing (On-line processing ก็คือการทำงานแบบตอบสนองหรือให้ Output แบบทันทีทันใด) ซึ่งบางครั้งจะเรียกว่า "on-linereal-time"
การประมวลผลแบบทันที (real-time processing) นี้มีจุดประสงค์เพื่อนำ Output ที่ได้ไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหา และดำเนินการต่าง ๆ ได้ทันท่วงที หรือทันกาล ตัวอย่างเช่น การนำคอมพิวเตอร์มาต่อเชื่อมกับเครื่องตรวจจับป้องกันไฟไหม้ (โดยกำหนดว่าถ้ามีควันมากและอุณหภูมิสูงผิดปกติถือว่าเกิดไฟไหม้) ซึ่งคอมพิวเตอร์จะต้องนำข้อมูล (จากสถานที่เหตุการณ์และเวลาจริง) มาประมวลผลอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และถ้าประมวลผลแล้วพบว่าไฟไหม้ คอมพิวเตอร์ก็จะสั่งให้น้ำยาดับเพลิงที่ติดตั้งไว้ทำงาน (ตอบสนองทันที) การที่คอมพิวเตอร์ฉีดทันทีเราอาจกล่าวได้ว่าเป็นผลจากการทำงานแบบ On-line นั่นเอง

10. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ หมายถึง
ตอบ  การจัดเก็บฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ได้เริ่มรู้จักกัน บทความชื่อ A Relational Model of Data for Large Shared Data Banks  ของ Dr.Edgar Frank Codd  หรือ Dr. E. F. Codd ซึ่งขณะนั้นเป็นนักวิจัยอยู่ที่บริษัท IBM ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Association of Computer Machinery (ACM) journal เมื่อเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ.1970   การสร้างโมเดลเชิงสัมพันธ์ได้ใช้ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับเซต (Set) มาอธิบายการทำงาน  แนวคิดของ Codd นี้ได้ถูกพัฒนาเป็นซอฟต์แวร์ระบบฐานข้อมูลที่ชื่อว่า Oracle จากบริษัท Relational Software หรือ บริษัท Oracle ในปัจจุบัน